วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ตรวจสอบก่อนซื้อที่อยู่อาศัย

 

 
เรื่องน่ารู้ที่ควรตรวจสอบก่อนซื้อบ้าน 
 
1) ข้อมูลโครงการ
ผู้ซื้อต้องจำแนกทำเล ระดับราคาและประเภทของที่อยู่อาศัยที่ตัวผู้ซื้อสนใจ เช่น ค้นคว้าจากสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆหรือจากทางเว็บไซต์ ์ที่ให้บริการข้อมูลด้านที่อยู่อาศัย ทั้งนี้เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปดูสถานที่จริง
           
แบบบ้านอย่างไรที่เหมาะสมกับคุณ

เรื่องของแบบบ้านนั้นเป็นเรื่องความสวยความงาม ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงนั้นมีหลักง่ายๆ ดังนี้
  • รูปแบบภายนอกของบ้าน
    เช่น ชายคาบ้าน ถ้าสั้นเกินไปก็อาจมีปัญหาเรื่องฝนในภายหลัง จึงเป็นเหตุให้เกิดการต่อเติมขึ้นมาในภายหลัง
  • พื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน
    ดูจากแบบแปลนหรือบ้านตัวอย่างในแบบบ้านว่ามีพื้นที่ใช้สอยตรงตามความต้องการหรือไม่ เช่น จำนวน ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องพักผ่อน ฯลฯ
  • ตำแหน่งแปลงของบ้าน
    การวางตำแหน่งแปลงของบ้านนั้น มีผลต่อทิศทางของแดดและลม ซึ่งจะทำให้บ้านหลังที่เลือกซื้ออยู่สบายหรือไม่นั้น คือ บ้านที่อยู่สบายและถูกต้องตามทิศทางลม ต้องหันหน้าบ้านไปทางทิศเหนือหรือทิศใต้ เพราะ 2 ทิศนี้ถือว่าดีที่สุดสำหรับบ้าน เพราะจะทำให้บ้านรับลมเย็นสบายตลอดทั้งปี เหมาะสมกับภูมิอากาศของประเทศที่สุด  
    งบประมาณของบ้านที่จะซื้อ
    งบของบ้านที่จะซื้อควรอยู่ที่ 3เท่าของรายได้ต่อปีของผู้ซื้อและความสามารถในการผ่อนชำระโดยปกติต่อเดือนจะอยู่ที่ ประมาณ 30% ของรายได้ต่อเดือน            
    ค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆ นอกเหนือจากงบประมาณของบ้านและที่ดิน
  • ค่าตบแต่งภายในบ้านโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 35% ของราคาบ้าน
  • ค่าติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในบ้าน เช่น ปั๊มน้ำ แท็งก์ น้ำ เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ
  • ค่าจัดสวน หรือต่อเติมต่างๆเช่น มุ้งลวด เหล็กดัด กันสาด ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ตัวผู้ซื้อนั้นจำเป็นต้อง สำรองเงินสด สำหรับใช้จ่ายเมื่อการรับ โอนบ้านกระทำการเรียบร้อยแล้ว
2) สถานที่อำนวยความสะดวกที่จำเป็น
สถานที่สำคัญหลักๆ เช่น โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน ฯลฯ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควรพิจารณาเพราะหากเมื่อผู้อยู่อาศัยมีความจำเป็นที่จะต้องใช้บริการในยามจำเป็น หรือแม้ในยามปกติก็ตามนั้น ตัวผู้ซื้อจึงควรตรวจสอบระยะเวลา และความสะดวกในการเดินทางควบคู่ไปด้วย

3) เส้นทางการเดินทาง และโครงข่ายการจราจร
ข้อมูลดังกล่าวนี้ก็เป็นอีกปัจจัยหลักที่สำคัญ เช่น ข้อมูลการเดินรถสาธารณะ เส้นทางรถโดยสารสาธารณะ จำนวนสายเดินรถ ช่วงเวลาการให้บริการ ปริมาณการจราจร จุดที่มีปัญหา และเส้นทางลัด เป็นต้น

4) วงเงินการปล่อยกู้จากสถาบันการเงิน
อันดับแรก คือ ตัวผู้ซื้อจะต้องทราบระดับราคาของบ้านที่ผู้ซื้อนั้นมีความสามารถในการซื้อและผ่อนชำระ ซึ่งสามารถทำได้โดยการตรวจสอบหาข้อมูลได้ที่ฝ่ายให้บริการสินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆ หรือตามเว็บไซต์ที่ให้บริการข้อมูลด้านที่อยู่อาศัยและเว็บไซต์ของสถาบันการเงิน ซึ่งโดยปกติสถาบันการเงินจะปล่อยกู้ประมาณ 25-30 เท่าของอัตราเงินเดือนผู้กู้ ในกรณีที่ผู้ซื้อมีผู้กู้ร่วมด้วย อัตราส่วนเพิ่มของวงเงินกู้ก็จะเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเดือนของผู้กู้ร่วม ทั้งนี้สถาบันการเงินอาจจะพิจารณาปล่อยกู้เกินกว่าวงเงินขั้นต่ำที่กำหนด โดยพิจารณาจากปัจจัยอื่นๆ ประกอบ เช่น อาชีพ ความมั่นคง ความก้าวหน้า ความสามารถในการผ่อนชำระ อาชีพเสริมที่รู้แหล่งที่มาของรายได้ เป็นต้น

5) ข้อมูลทางราชการ
ตัวอย่างข้อมูลทางราชการ อาทิเช่น แนวเวนคืน โครงข่ายสาธารณูปโภค-สาธารณูปการที่มีอยู่หรืออาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การก่อสร้างทางด่วน หรือการตัดถนน เป็นต้นข้อมูลบางอย่างนี้ถือเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการอยู่อาศัย

6) ผังเมืองรวม
ผู้ซื้อควรหลีกเลี่ยงโครงการที่อยู่อาศัยในเขตผังเมืองประเภทพื้นที่อุตสาหกรรม หรือพาณิชยกรรม หรือในเขตที่พักอาศัยหนาแน่น เพราะพื้นที่เหล่านี้จะเป็นเขตที่มีผู้คนอยู่อย่างหนาแน่น และมีกิจกรรมต่างๆ มากมายที่อาจทำให้เกิดมลภาวะต่างๆ รวมไปถึงปัญหาการจราจรที่อาจมีตามมา
 
ที่มา:
www.lh.co.th
www.my1sthome.in.th
www.homedd.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น